วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติ เขาปู่-เขาย่า

                              อุทยานแห่งชาติ เขาปู่-เขาย่า






      อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ตั้งชื่อตามภูเขาที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เขาปู่” ซึ่งถือว่าเป็นภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณ “ตาปู่” เป็นเทพกึ่งธรรพ์ ซึ่งเป็นที่นับถือเคารพกราบไหว้ของชาวตำบลเขาปู่และประชาชนทั่วไป อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่ามีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอทุ่งสง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอรัษฎา อำเภอห้วยยอด อำเภอเมือง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหลา จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัด สลับซับซ้อนปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้นเขียวสะพรั่งทุกฤดูกาล จนได้รับสมญานามว่า “ป่าพรหมจรรย์” ในตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ราบ ซึ่งมีบ้านพักแบบทาร์ซานสร้างเรียงรายอยู่ตามริมห้วยธาร นับเป็นเอกลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติเขาปู่ - เขาย่า รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 433,750 ไร่ หรือ 694 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด มีภูเขาสูงสลับซับซ้อนมากมายที่วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยภูเขาบรรทัด ภูเขานครศรีธรรมราช เขาปู่-เขาย่า เขาป้าแหร้ เขาสามร้อยยอด เขาวัดถ้ำ เขาพระยากรุงจีน เขาป่าโฮ้ง มีเขาหินแท่นเป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงประมาณ 877 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู-เขาย่า เป็นต้นแม่น้ำตรังและแม่น้ำปากพนัง โดยในฝั่งจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดคลองลาไม คลองไม้เสียบ คลองน้ำใส ซึ่งจะไหลรวมเป็นคลองชะอวดและแม่น้ำปากพนัง ส่วนในฝั่งจังหวัดตรังเป็นต้นกำเนิดของคลองลำภูรา คลองละมอ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่น้ำตรัง
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ สายกรุงเทพฯ–พัทลุง หรือรถไฟ ลงที่ตัวจังหวัดพัทลุงหลังจากนั้นก็นั่งรถโดยสารสายพัทลุง-เขาปู่-เขื่อน มาลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า


อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า


แข่งโพน

                                                แข่งโพน







      แข่งโพนหรือประชันโพน เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดพัทลุง ที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับประเพณีลากพระ เพราะเป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันก่อนที่จะมีการลากพระในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันพระออกพรรษา
      โพนหรือตะโพน คือ กลองทัดหรือกลองเพลงของภาคกลางเป็นดนตรีประเภทเครื่องตีในภาคใต้ มีไว้ประจำตามวัดวาอาราม เพื่อตีบอกเวลา หรือใช้ตีประโคมเรือพระในเทศกาลออกพรรษาหรือลากพระ ในช่วงปลายเดือนสิบ วัดต่าง ๆ จะเตรียมการลากพระตั้งแต่การทำบุณบกหรือเรือพระสำหรับลาก การหุ้มโพน แล้วเริ่มคุมโพน (ตีโพน) หรืออาจจะเรียกว่าการประโคม เพื่อบอกข่าวหรือประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่าทางวัดจะจัดให้มีการลากพระ ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาเหมือนกันทุก ๆ ปี
      โพนที่นำมาตีประโคม นิยมใช้กัน 2 ใบ เป็นเสียงแหลม 1 ใบ ทุ้ม 1 ใบ ยิ่งใกล้วันลากพระก็อาจจะประโคมกันตลอดทั้งคืน ผู้ที่ประโคมมักเป็นศิษย์วัด หรืออุบาสกที่อยูใกล้ ๆ วัดโดยปกติจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตี อาจตึคนเดียว 2 ใบ หรือคนละใบสลับเสียงกัน และเชื่อกันว่าผู้ร่วมคุมโพนจะได้บุญกุศลด้วย แต่เนื่องจากวัดส่วนมากจะอยู่ในละแวกเดียวกัน เสียงโพนที่ตีดังออกไปไกลบางครั้งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นเสียงโพนของวัดใด จึงทำให้วัดต่าง ๆ แข่งเสียงโพนกันว่า โพนของวัดใดเสียงดังกว่ากัน






วัดคูหาสวรรค์

                                วัดคูหาสวรรค์






                   วัดคูหาสวรรค์  เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งในประวัติศาสตร์  ที่พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์โปรดในการเสด็จอยู่เสมอ  มีโบราณสถานและรูปแบบศิลปกรรมที่สำคัญ
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดคูหาสูง”  หรือ  “วัดสูง”  ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด  ตามตำนานนางเลือดขาวระบุไว้ว่า  เมื่อตาสามโมกับยายเพชรถึงแก่กรรมแล้ว  กุมารกับนางเลือดขาวให้นำอัฐิของท่านทั้งสองไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์  ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ๑ องค์  และพระพุทธรูปปูนปั้น  ปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ  ทิศใต้  และทิศตะวันตก  รวม ๓๗ องค์
พระมหากษัตริย์หลายพระองค์เคยเสด็จประพาสที่นี่  ดังพระปรมาภิไธยย่อที่ทรงจารึกไว้ว่า  จ.ป.ร.๑๐๘  บริเวณหน้าถ้ำ  และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ     พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  เคยเสด็จประพาสถ้ำคูหาสวรรค์  ทรงจารึกพระปรมาภิไธย ภปร.และสก.๑๗.๓.๒๕๐๒ ไว้ที่เพิงหน้าถ้ำ  ถ้ำนี้ลึกและยาว  มีทางลอดใต้ภูเขาออกไปถ้ำนางคลอดซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง  ปัจจุบันวัดคูหาสวรรค์ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นพระอารามหลวง  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเชิงเขาหัวแตก  ตำบลคูหาสวรรค์  ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุงประมาณ ๘๐๐ เมตร







วัดคูหาสวรรค์

วัดถ้ำสุมะโน

                                            วัดถ้ำสุมะโน






วัดถ้ำสุมะโน”   ได้ถูกค้นพบโดยพระอาจารย์ เดช  สุมโน ในวันที่ ๒๘ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๐  ตรงกับวันอังคารขึ้น ๒ ค่ำ  เดือน   ปีเถาะ ขณะนั้นท่านมีอายุ๓๖ ปี  พรรษาที่ ๑๔ พื้นที่วัดถ้ำสุมะโนเป็นภูเขาลูกเล็กๆตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านนา  อำเภอศรีนครินทร์  จังหวัดพัทลุง  ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเขาพับผ้าประมาณ ๒๕ กิโลเมตรภูมิประเทศกว่า ๕๐๐ ไร่อุดมร่มรื่นด้วยพืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าเขา  มีถ้ำหินงอกหิน
ย้อย ทัศนียภาพเป็นเทือกเขาบรรทัดสลับซับซ้อน และมีลำธารไหลผ่านตลอดปี นับว่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันวัดถ้ำสุมะโนยังได้ รับคัดเลือกให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวพัทลุงอีกด้วยพระอาจารย์เดชเล่าว่า  ก่อนหน้าที่จะพบถ้ำนี้    เมื่อท่านเรียนจบปริยัติธรรม สมความมุ่งหมายแล้ว  ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อค้นหาพระสัจธรรมจากธรรมชาติ ปฏิบัติตนเจริญรอยตามแนวทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทั่งช่วงเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕พระอาจารย์ เดช  สุมโน  ได้ตั้งจิตอธิษฐานขณะเจริญภาวนาในอุโบสถ วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม (วัดพระแก้ว)   ขอให้พบถ้ำที่ถูกใจ ไม่ห่างไกลกันดารมากนัก  พอที่จะใช้ เป็นที่ปฏิบัติธรรม เป็นที่รวมญาติธรรมได้  ภาพถ้ำได้ปรากฏในนิมิต  ความประสงค์ที่ พระอาจารย์เดชต้องการถ้ำนั้นเพราะเห็นเป็นที่อยู่ของมนุษย์แบบธรรมชาติมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และไม่ต้องลงทุก่อสร้างให้สิ้นเปลืองเงินทอง ท่านจึงได้ออกธุดงค์เพื่อค้นหาถ้ำไปในภาคอีสาน    ภาคกลาง    ภาคเหนือแต่ก็ไม่พบ   ต่อมา  พระอาจารย์เดช  สุมโนได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง เพื่อถวายงานเจ้าอาวาส วัดเจริญธรรมาราขณะนั้นคือพระอธิการบริรักษณ์  สุตตธโร (พระครูภาวนาภิราม) เพื่อสอนปริยัติแก่ภิกษุ สามเณร  เมื่อว่างจากิจการวัดก็ออก ธุดงค์เพื่อทำปณิธานของท่านให้เป็นจริง  คือการค้นหาถ้ำที่ปรากฏในนิมิต  กระทั่ง ถึงปี พุทธศักราช ๒๕๒๘  ท่านได้ธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม และ ตั้งจิตอธิษฐานต่อ องค์พระธาตุพนมขอให้พบถ้ำดังกล่าวอีกหลังออกพรรษาท่านก็ธุดงค์ลงใต้มาเรื่อยๆ  โดยจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ต  และ ในปีต่อมาขณะจำพรรษาที่วัดถ้ำเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่ กับหลวงปู่สิม  พุทธาจาโร  ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำผาปล่องท่านได้ปฏิบัติ จนเกิดธรรมขึ้นในใจว่า  การ ค้นหาถ้ำภายนอกนั้นไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก สู้หาถ้ำภายในคือสติจะดีกว่า   และ ในคืนนั้นก็นิมิตเห็นเทพองค์หนึ่งคือ  “พระนางจามเทวีมาบอกขณะนั่สมาธิว่า  ถ้ำอยู่จังหวัดพัทลุงห่างออกไป ๒๕ กม.  ทางไปจังหวัดตรัง  สภาพเป็นภูเขาลูกเล็กๆ พื้นที่โดยรอบเป็นป่า (ตามประวัติศาสตร์ ของเมืองพะเยานั้นเล่าว่า  พระนางจามเทวีเป็นคนธรรพ์  มีสิริโฉมงดงามมาก  เป็น มเหสีของเจ้าเมืองพะเยา คือเจ้าคำแดง ) เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์เดชก็ออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมไปทางภาคเหนือ  เข้าเมืองครอง  เมืองแหง  ประเทศพม่า ต้นปี ๒๕๓๐ท่านได้ธุดงค์มาทางใต้จนถึงจังหวัด ภูเก็ต  เวลานั้นท่านได้ชักชวนชาวภูเก็ตให้ ปฏิบัติธรรมมากขึ้นจนเป็นที่เคารพสักการะของลูกศิษย์มากมาย กระทั่งท่านมีดำริ จะเดินทางไปพัทลุง  เพื่อพิสูจน์นิมิตตามที่เทพเทวดามาบอก และ เพื่อทำมโนปณิธาน ให้ปรากฏ







เขาอกทะลุ

                                            เขาอกทะลุ






  ภูเขาอกทะลุ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดพัทลุง สูงประมาณ 250 เมตร มีทางสำหรับปีนขึ้นยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ ลักษณะพิเศษของภูเขาลูกนี้ คือ มีช่องที่มองลอดทะลุยอดภูเขาอยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขา
     การเดินทางจากวัดคูหาสวรรค์มุ่งหน้าไปบนทางหลวงหมายเลข 4047 สู่สถานีรถไฟพัทลุงจะพบภูเขาอกทะลุ ตั้งตระหง่านอยู่ด้านตะวันออกของสถานีรถไฟ 

เขาอกทะลุ เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงอยู่ทางตะวันออกของสถานีรถไฟพัทลุงลักษณะเป็นเขาสูงโดดเด่นเห็นได้ชัดจากตัวเมืองจุดเด่นของเขาลูกนี้คือบริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขามีโพรงถ้ำทะลุออกไปยังอีกด้านหนึ่งเมื่อขึ้นไปถึงด้านบนสามารถชมทิวทัศน์เบื้องล่างผ่านโพรงถ้ำนี้ได้หากเดินทางตามเส้นทางไปหาดลำปำจะมองเห็นโพรงนี้ได้อย่างชัดเจนเขาอกทะลุมีทางเดินขึ้นเขาเป็นบันไดคอนกรีตมีความสูงรวมประมาณ 250 เมตร 




 

น้ำตกมโนราห์

                                         น้ำตกมโนราห์




         "น้ำตกมโนราห์" อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่น่ามาเยือนแห่งหนึ่งของบ้านทุ่งนาโพธิ์ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง โดยน้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตก ขนาดกลาง แต่มีความสวยงามทางธรรมชาติมากแห่งหนึ่ง   โดยเฉพาะน้ำใสที่มีสีเขียว รวมไปถึงกระแสน้ำไหลแรงลงสู่ลำธาร ซึ่งประกอบไปด้วยโขดหิน เกาะแก่งเป็นระยะทางยาว นอกจากนี้แล้วบริเวณน้ำตกยังมีสะพานแขวนให้นักท่อง เที่ยวได้เดินชมธรรมชาติกันอีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งในการพักผ่อน และลงเล่นน้ำ     การเดินทางไปเยือนน้ำตก บ้านทุ่งนาโพธิ์ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด อยู่ระหว่างน้ำตก ไพรวัลย์ และน้ำตกนกรำ ทางเข้าของน้ำตกแยกจากทางหลวงหมายเลข4122เมื่อถึงบริเวณลานจอดรถ แล้วเดินเท้าเข้าไปอีก 500 เมตร ทางเดินมีบันไดให้เดินได้อย่างสะดวก สบาย "

   น้ำตกมโนราห์ เป็นน้ำตกขนาดกลาง น้ำใสมีสีเขียวไหลแรงลงสู่ลำธาร ซึ่งประกอบไปด้วยโขดหิน เกาะแก่งเป็นระยะทางยาว อีกทั้งยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมกันอีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งในการพักผ่อนและเล่นน้ำ
     ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งนาโพธิ์ พื้นที่ความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อยู่ก่อนถึงน้ำตกไพรวัลย์ เมื่อถึงบริเวณลานขอดรถแล้วเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ทางเดินมีบันไดให้เดินได้อย่างสะดวกสบาย

        



ไพรวัลย์

                                               ไพรวัลย์




      น้ำตกไพรวัลย์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดพัทลุง และติดอันดับของภาคใต้ มีน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน น้ำไหลแรงสามารถเล่นน้ำได้ในชั้นล่าง บริเวณโดยรอบเงียบสงบ มีต้นไม้นานาชนิดปกคลุมอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้น้ำตกมีน้ำตลอดทั้งปี ตั้งอยู่ในหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา
สามารถเดินทางจากตัวเมืองพัทลุงไปตามถนนเพชรเกษม (พัทลุง - ตรัง) ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่สามแยกหัวถนนท่านช่วย ถึงสามแยกบ้านทุ่งนาชีเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอกงหรา ถึงสี่แยกบ้านพูดเลี้ยวขวาเข้าสู่น้ำตก รวมระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร หรือไปตามถนนเพชรเกษม (พัทลุง - ตรัง) เลี้ยวซ้ายที่สามแยกบ้านคลองหมวย (ทางหลวงหมายเลข 4122) เส้นทางคลองหมวย - กงหรา ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงสี่แยกบ้านพูดเลี้ยวขวาเข้าสู่น้ำตก หากไปทางถนนเอเชีย (พัทลุง - หาดใหญ่) เลี้ยวขวาเข้าสู่น้ำตกที่บ้าน กม.42 ไปตามถนนสาย บ้าน กม.42 - บ้านพูด ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร หรือจะเลยไปเส้นทางแม่ขรี - กงหรา ก็ได้ บริเวณน้ำตกมีลานจอดรถและร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปยังชั้นบนของน้ำตกไพรวัลย์ได้ โดยการปีนไปตามทางซึ่งค่อนข้างชัน ชั้นนี้จะเล็กกว่าชั้นแรกมาก แต่น้ำไหลแรง มีแอ่งน้ำเล่นน้ำได้ ข้อสำคัญในช่วงหน้าฝนน้ำตกจะมีน้ำไหลแรงมาก นักท่องเที่ยวควรใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก





หาดแสนสุข ลำปำ

                                          หาดแสนสุข ลำปำ




หาดแสนสุขลำปำ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลสาบสงขลา เป็นบริเวณที่ร่มรื่น อากาศเย็นสบายมองไปด้านหน้าเห็นทิวทัศน์ ของทะเลสาบสงขลา มีเกาะใหญ่ - เกาะน้อย รายเรียงสวยงามมาก ห่างจากริมฝั่งไปประมาณ 40 เมตรเศษ มีศาลาทรงไทย 1 หลัง เรียกว่า ศาลาลำปำที่รัก เดิมเคยมีผู้มาขอเช่าทำกิจการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม แต่ในระยะหลังสังเกตได้ว่าความสนใจของประาชน เปลี่ยนแปลงวจากการนั่งในห้องแคบ ๆ เป็นที่โล่งแจ้ง จึงมีผู้นำอาหาร เครื่องดื่มและปลูกร้านค้าเล็ก หาดแสนสุขลำปำ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลสาบสงขลา เป็นบริเวณที่ร่มรื่น อากาศเย็นสบายมองไปด้านหน้าเห็นทิวทัศน์ ของทะเลสาบสงขลา มีเกาะใหญ่ - เกาะน้อย รายเรียงสวยงามมาก ห่างจากริมฝั่งไปประมาณ 40 เมตรเศษ มีศาลาทรงไทย 1 หลัง เรียกว่า ศาลาลำปำที่รัก เดิมเคยมีผู้มาขอเช่าทำกิจการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม แต่ในระยะหลังสังเกตได้ว่าความสนใจของประาชน เปลี่ยนแปลงวจากการนั่งในห้องแคบ ๆ เป็นที่โล่งแจ้ง จึงมีผู้นำอาหาร เครื่องดื่มและปลูกร้านค้าเล็ก ๆ ภายนอกมากขึ้น โดยเฉพาะบนเกาะลำปำ มีสะพานเชื่อมรถผ่านไปมาได้ ยาวประมาณ 40 เมตร เกาะนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่เศษ ผู้คนมาใช้บริการโดยเฉพาะในวันหยุดราชการมีมากเป็นพิเศษ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของนักทัศนาจรจากต่างถิ่น และบริเวณใกล้เคียง เป็นชายหาดสำหรับการชมวิว นั่งพักผ่อน บางบริเวณสามารถเล่นน้ำได้ ตรงปากคลองลำปำภายในทะเลสาบตื้นเขิน จนกลายเป็นเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ กรมป่าไม้ได้ปลูกต้นสนไว้เป็นสวนป่า ทำให้ความร่มรื่นเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี เมื่อมองออกไปทางทะเลสาบจะเห็นเกาะสี่เกาะห้า ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออก นับเป็นจุดเดียวบนฝั่งทะเลสาบด้านตะวันตกที่เป็นจุดชมวิวที่สวยงาน บริเวณชายหาดส่วนนี้บางครั้งก็ใช้เป็นที่จัดงานเทศกาล เช่น งานลอยกระทง งานชักพระ ฯลฯ
    บริเวณหาดแสนสุขลำปำ มีร้านขายอาหารเครื่องดื่มบริการมากมาย และมีร้านอาหารลำปำรีสอร์ท ซึ่งมีที่พักประเภทบังกาโล สำหรับให้นักท่องเที่ยวเช่าพักผ่อน มีอาหารบริการ และยังมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่สามารถจัดประชุมหรือสัมมนาได้ด้วยๆ ภายนอกมากขึ้น โดยเฉพาะบนเกาะลำปำ มีสะพานเชื่อมรถผ่านไปมาได้ ยาวประมาณ 40 เมตร เกาะนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่เศษ ผู้คนมาใช้บริการโดยเฉพาะในวันหยุดราชการมีมากเป็นพิเศษ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของนักทัศนาจรจากต่างถิ่น และบริเวณใกล้เคียง เป็นชายหาดสำหรับการชมวิว นั่งพักผ่อน บางบริเวณสามารถเล่นน้ำได้ ตรงปากคลองลำปำภายในทะเลสาบตื้นเขิน จนกลายเป็นเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ กรมป่าไม้ได้ปลูกต้นสนไว้เป็นสวนป่า ทำให้ความร่มรื่นเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี เมื่อมองออกไปทางทะเลสาบจะเห็นเกาะสี่เกาะห้า ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออก นับเป็นจุดเดียวบนฝั่งทะเลสาบด้านตะวันตกที่เป็นจุดชมวิวที่สวยงาน บริเวณชายหาดส่วนนี้บางครั้งก็ใช้เป็นที่จัดงานเทศกาล เช่น งานลอยกระทง งานชักพระ ฯลฯ
    บริเวณหาดแสนสุขลำปำ มีร้านขายอาหารเครื่องดื่มบริการมากมาย และมีร้านอาหารลำปำรีสอร์ท ซึ่งมีที่พักประเภทบังกาโล สำหรับให้นักท่องเที่ยวเช่าพักผ่อน มีอาหารบริการ และยังมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่สามารถจัดประชุมหรือสัมมนาได้ด้วย

  

ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง


ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง  





ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด อยู่ในอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลาโดยมีคลองนางเรียมเชื่อมระหว่างทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาทะเลน้อยเป็นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี พืชส่วนใหญ่เป็นพืชน้ำที่โดดเด่นและสร้างสีสันให้กับทะเลน้อยได้แก่ สาหร่ายหางกระรอกสาหร่ายข้างเหนียว ที่มีดอกเล็กๆสีเหลือง สีม่วงสวยงาม บัวหลวง บัวสายบัวเเผื่อน เป็นต้นความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในวงจรธรรมชาติของทะเลน้อยเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของนกน้ำนานาชนิดทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพใช้เป็นที่อาศัยช่วยเติมแต่งทะเลน้อยที่สวยงามจากมวลไม้น้ำได้มีความสมบูรณ์มีชีวิตชีวาตามครรลองของธรรมชาติ
สภาพพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทั้งหมด 450 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ ส่วนพื้นดินมีเนื้อที่ 422 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 94 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายทะเลสาบ ประกอบด้วยนาข้าวและป่าหญ้า ป่าพรุและป่าเสม็ด เป็นแอ่งน้ำมีพืชปกคลุม และที่ราบเชิงเทือกเขาบรรทัด มีเนินเขาสูงราว 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นน้ำมีเนื้อที่ 28 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด คือ ตัวทะเลน้อยนั่นเอง มีความกว้างราว 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ยราว 1.5 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว กระจูด หญ้าน้ำกก ปรือ และ กง กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณน้ำตื้นและค่อนข้างนิ่ง






วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของ จังหวัดพัทลุง


จังหวัดพัทลุง

     จังหวัดพัทลุง มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากกาค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอ ในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-14) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมนุมที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ในด้านพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก เป็นรูปพระโพธิสัตว์รูปเทวดา โดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์และถ้ำเขาอกทะลุ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุง ได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคง ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ในสมัยนั้น เมืองพัทลุงมักจะประสบปัญหาการโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัดอาแจะอารูและยุยงคตนะ ได้โจมตีเผาทำลายสร้างความเสียหายแก่เมืองพัทลุงถึงสองครั้ง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอยู่เสมอ และก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้ชาวเมือพัทลุงเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็ง
     ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้ง และได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโท ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำสำคัญในการสร้างความเจริญ และความมั่งคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิเช่น พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทโรจนวงศ์) และป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.2328-2329) พระมหาช่วย วัดป่าลิไลย์ ได้นำชาวพัทลุงต่อสู้ป้องกันการรุกรานของพม่าจนได้รับความดีความชอบ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาช่วยทุกขราษฎร์ ช่วยราชการเมืองพัทลุง
     นอกจากสงครามกับพม่าแล้ว ชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ ในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุงพร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงคราม ปราบปรามกบฎในหัวเมืองมาลายู เช่น กบฎไทรบุรี พ.ศ.2373 และ พ.ศ.2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองพัทลุงทางด้านการเมือง การปกครองและแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ ในอดีตเป็นอย่างดี
     ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ.2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสะดวกในการติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่ที่เคยเป็นเมืองที่ตั้งเมืองพัทลุง ได้แก่
     1.โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน
     2.บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง
     3.เขาชัยบุรี (เขาเมืองฯ) ปัจจุบัน คือ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง ตำบลพนมวังก์ และ มะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน
     4.ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
     5.เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
     6.บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมูที่ 2 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
     7.บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 6 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง