วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แข่งโพน

                                                แข่งโพน







      แข่งโพนหรือประชันโพน เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดพัทลุง ที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับประเพณีลากพระ เพราะเป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันก่อนที่จะมีการลากพระในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันพระออกพรรษา
      โพนหรือตะโพน คือ กลองทัดหรือกลองเพลงของภาคกลางเป็นดนตรีประเภทเครื่องตีในภาคใต้ มีไว้ประจำตามวัดวาอาราม เพื่อตีบอกเวลา หรือใช้ตีประโคมเรือพระในเทศกาลออกพรรษาหรือลากพระ ในช่วงปลายเดือนสิบ วัดต่าง ๆ จะเตรียมการลากพระตั้งแต่การทำบุณบกหรือเรือพระสำหรับลาก การหุ้มโพน แล้วเริ่มคุมโพน (ตีโพน) หรืออาจจะเรียกว่าการประโคม เพื่อบอกข่าวหรือประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่าทางวัดจะจัดให้มีการลากพระ ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาเหมือนกันทุก ๆ ปี
      โพนที่นำมาตีประโคม นิยมใช้กัน 2 ใบ เป็นเสียงแหลม 1 ใบ ทุ้ม 1 ใบ ยิ่งใกล้วันลากพระก็อาจจะประโคมกันตลอดทั้งคืน ผู้ที่ประโคมมักเป็นศิษย์วัด หรืออุบาสกที่อยูใกล้ ๆ วัดโดยปกติจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตี อาจตึคนเดียว 2 ใบ หรือคนละใบสลับเสียงกัน และเชื่อกันว่าผู้ร่วมคุมโพนจะได้บุญกุศลด้วย แต่เนื่องจากวัดส่วนมากจะอยู่ในละแวกเดียวกัน เสียงโพนที่ตีดังออกไปไกลบางครั้งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นเสียงโพนของวัดใด จึงทำให้วัดต่าง ๆ แข่งเสียงโพนกันว่า โพนของวัดใดเสียงดังกว่ากัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น